ข้อควรรู้ก่อนสร้างสระว่ายน้ำ

May 09, 2022 13:57





สระว่ายน้ำ



สระว่ายน้ำอาจไม่ใช่องค์ประกอบที่จำเป็นสำหรับการอยู่อาศัย แต่สระว่ายน้ำคือความฝันของใครหลายคนที่อยากมีบ้านเป็นของตัวเอง และมีคนถามกันเข้ามามากกับการก่อสร้างสระว่ายน้ำ ครั้งนี้เรามาคลายความสงสัยกับ สิ่งที่ควรรู้ ก่อนสร้างสระว่ายน้ำ กันครับ

วัตถุประสงค์การใช้งาน สระว่ายน้ำ เป็นอย่างไร?

ก่อนตัดสินใจสร้างสระว่ายน้ำในบ้าน เจ้าของบ้านควรพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ของการมีสระว่ายน้ำก่อนเป็นอันดับแรก เพราะปัจจุบันสระว่ายน้ำนั้น ไม่ได้มีไว้เพื่อออกกำลังกาย หรือเพื่อความเพลิดเพลินเท่านั้น แต่สระว่ายน้ำยังเปรียบเสมือนเฟอร์นิเจอร์ชื้นงามภายนอกบ้าน ที่ช่วยเพิ่มมุมมองอันสวยงามจากภายในสู่ภายนอก หรือเจ้าของบ้านก็ต้องการสระว่ายน้ำที่อยู่คู่ไปกับบ้านแสนรักให้นานที่สุดอีกด้วย ดังนั้นวัตถุประสงค์ในการใช้งาน จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการออกแบบนั่นเอง

สิ่งควรรู้ก่อน สร้างสระว่ายน้ำ



สิ่งควรรู้ก่อน สร้างสระว่ายน้ำ

สระว่ายน้ำอาจไม่ใช่องค์ประกอบที่จำเป็นสำหรับการอยู่อาศัย แต่สระว่ายน้ำ คือ ความฝันของใครหลายคนที่อยากมีบ้านเป็นของตัวเอง แต่สิ่งที่ควรรู้ก่อนสร้างสระว่ายน้ำ จะมีอะไรบ้าง

  • การเลือกตำแหน่งของสระว่ายน้ำ

สระว่ายน้ำเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ช่วยเพิ่มบรรยากาศให้บ้านได้ กรณีที่เจ้าของบ้านต้องการเพิ่มความโดดเด่นให้กับตัวบ้าน ตำแหน่งของสระว่ายน้ำ ควรอยู่ในบริเวณที่มองเห็นได้ง่าย เช่น หน้าบ้าน หรือห้องรับแขก ในทางกลับกัน หากเจ้าของบ้านต้องการความเป็นส่วนตัว อาจวางตำแหน่งของสระว่ายน้ำให้อยู่ในบริเวณที่เป็นส่วนตัวที่สุด เช่น หลังบ้าน เป็นต้น เพื่อสามารถใช้งานได้ตลอดเวลา แม้มีกิจกรรมอื่น ๆ ภายในบ้าน

ข้อแนะนำ :

  • ถ้าต้องการสร้างสระว่ายน้ำเพื่ออกกำลังกายอย่างมีประสิทธิภาพ ความยาวของสระว่ายน้ำที่เหมาะสมกับการว่าย (Lap Pool) ต้องไม่น้อยกว่า 12-14 เมตร และมีความกว้างไม่น้อยกว่า 3 เมตร แต่ถ้าไม่สามารถสร้างสระว่ายน้ำที่มีความยาวขนาดนั้นได้ ก็อาจพิจารณาติดตั้งเครื่องพ่นกระแสน้ำที่ขอบสระ เพื่อว่ายทวนกระแสน้ำเสมือนเป็นการออกกำลังกายได้เช่นกัน
  • หากต้องการสร้างสระว่ายน้ำสำหรับว่ายน้ำหรือเล่นน้ำเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน ขนาดมาตรฐานคือ 4 x 8 เมตร หรือ 5 x 10 เมตร อาจจัดพื้นที่รอบบริเวณสระว่ายน้ำให้เกิดบรรยากาศที่น่าใช้งาน เช่น จัดสวนให้เกิดความร่มรื่น พร้อมมุมพักผ่อนเล็ก ๆ ริมสระน้ำ
  • ถ้าต้องการสร้างสระว่ายน้ำสำหรับเด็ก ควรคำนึงถึงเรื่องความปลอดภัย เช่น ความลึกและตำแหน่งที่เหมาะสม สำหรับขนาดของสระว่ายน้ำที่เล็กที่สุดคือ 3 x 5 เมตร ส่วนมาตรฐานความลึกของสระสำหรับเด็กควรอยู่ระหว่าง 60-90 เซนติเมตร อาจพิจารณาองค์ประกอบเสริมอื่น ๆ เช่น น้ำพุ หรือ Slider และมีพื้นที่ให้เด็กเล่นรอบสระ เพื่อสร้างความเพลิดเพลิน
  • รูปทรงของสระว่ายน้ำ

การเลือกรูปทรงสระว่ายน้ำนั้น ไม่มีข้อกำหนด หรือกฎหมายบังคับ ขึ้นอยู่กับความชอบส่วนบุคคล คอนเซ็ปต์ของผู้ออกแบบ และความต้องการของเจ้าของบ้านเป็นสำคัญ รูปทรงของสระว่ายน้ำสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ

👉 สระว่ายน้ำรูปทรงเรขาคณิต เช่น สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม หรือวงกลม หากเป็นสระว่ายน้ำตามมาตรฐานของผู้ผลิตทั่วไป มักเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 4 x 8 เมตร หรือ 5 x 10 เมตร และมีความลึกประมาณ 1.20 เมตร ซึ่งเป็นรูปแบบที่เหมาะกับบ้านทั่วไปที่มีพื้นที่จำกัด หรือผู้ที่ต้องการระยะว่ายน้ำที่เหมาะกับการออกกำลังกาย เนื่องจากบ้านทั่วไปมักเป็นรูปสี่เหลี่ยม การใช้รูปทรงเรขาคณิต จะดูลงตัวกับผังอาคารมากกว่า

  • ขนาดของสระว่ายน้ำ

นอกจากต้องกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการเลือกรูปแบบสระว่ายน้ำที่เหมาะสมแล้ว ยังมีสิ่งที่ควรพิจารณาเป็นอันดับรองลงมา คือ ขนาดพื้นที่ที่จะสร้างสระว่ายน้ำ ทั้งนี้ขนาดสระว่ายน้ำควรให้มีสัดส่วนเหมาะสมกับปริมาณผู้ใช้งานหรือสมาชิกในบ้านด้วย

👉 รูปแบบการใช้งานสระบ้านส่วนตัว กว้าง x ยาว (เมตร) ความลึก (เมตร)

👉 สำหรับเด็ก 3 x 5 เมตร (ลึก 0.60-0.90 เมตร)

👉 สำหรับผู้ใหญ่ 4 x 8, 5 x 10, 6 x 12 เมตร และ 7 x 14 (ลึก 1.20-1.50 เมตร)

👉 สำหรับออกกำลังกาย ไม่น้อยกว่า 3 x 10 (ลึก 1.20-1.50 เมตร)

👉 สำหรับติดตั้งสปริงบอร์ด ไม่น้อยกว่า 6 x 12 (ลึก 2.50 เมตรขึ้นไป)



ข้อแนะนำ :

สำหรับผู้ที่ต้องการออกแบบสระว่ายน้ำ ให้ใช้งานร่วมกันได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ สามารถสร้างสระว่ายน้ำให้มีความต่อเนื่องกัน แต่ควรแบ่งระหว่างส่วนลึกกับส่วนตื้น หรือเทพื้นลาดเอียงเพื่อความปลอดภัย สำหรับสระที่เพิ่มประโยชน์ใช้สอยอื่นเข้าไป เช่น มีสปริงบอร์ดสำหรับกระโดดน้ำ หรือมี Slider ควรมีความลึกเพิ่มขึ้น เพื่อความเหมาะสมในการใช้งาน

ปัจจุบันสระว่ายน้ำที่ใช้กันตามบ้าน โรงแรม หรือรีสอร์m มักมีระดับความลึกของสระประมาณ 1.20 เมตรเท่ากันโดยตลอด ไม่นิยมทำสระที่มีความลึกมาก จึงช่วยให้ผู้ใช้เกิดความรู้สึกปลอดภัย และผ่อนคลายมากกว่า

วัสดุบุพื้น โมเสค vs กระเบื้อง

การใช้กระเบื้องโมเสค ทำให้สระดูมีมิติ ความกว้างความลึกมากกว่า และตกแต่งเล่นสี เล่นลาย ได้มากกว่า มองเห็นการพลิ้วไหวที่เกิดจากผิวน้ำ ทำให้เห็นลวดลายสวยงาม แต่กระเบื้องโมเสค มีต้นทุนค่าวัสดุ และค่าแรงสูงกว่ามาก ส่วนการปูกระเบื้องเซรามิก มีการปูและซ่อมบำรุงดูแลรักษาง่ายกว่า แต่ไม่สามารถเล่นสีเล่นลายได้เหมือนกระเบื้องชนิดอื่น ๆ ปัจจุบันไม่ค่อยได้รับความนิยม

  • ราคา

ราคาของการก่อสร้างสระว่ายน้ำ ขึ้นอยู่กับขนาด ระบบ และการบำบัดน้ำ ระบบสระน้ำ มี 2 แบบ คือ แบบน้ำล้นและแบบ skimmer ขึ้นอยู่กับงบประมาณ และพื้นที่ติดตั้งสระ เช่น มีพื้นที่น้อย งบประมาณน้อย อาจเลือกสระสำเร็จรูป เพราะมีราคาและค่าดูแลรักษาถูกกว่า แต่มีข้อจำกัด เรื่องของรูปทรง ระบบและการบำบัดน้ำ

วิธีดูแลสระว่ายน้ำ



1. เตรียมพร้อมก่อนเปิดสระ

หากคุณปิดสระว่ายน้ำชั่วคราวในบางฤดูกาลที่ไม่มีคนลงใช้ ขอให้แน่ใจว่าคุณได้ทำความสะอาดบริเวณโดยรอบสระทั้งคราบสกปรก และกวาดเศษใบไม้ต่าง ๆ ให้เรียบร้อยก่อนที่จะเปิดผ้าคลุมสระว่ายน้ำออกอีกครั้ง จากนั้นใช้สายยางเติมน้ำลงไปในสระจนถึงระดับน้ำปกติ เดินเครื่องอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เคยปิดไว้ เพื่อให้น้ำไหลเวียนผ่านเข้าไปในระบบ เปิดช่องสกิมเมอร์ เพื่อขจัดฝุ่นละอองที่ผิวน้ำ วัดระดับค่า pH ในน้ำ ซึ่งอาจใช้เวลาหนึ่งสัปดาห์ หรือมากกว่านั้นจนกว่าน้ำในสระจะถึงจุดสมดุลที่คนสามารถลงเล่นได้ เปิดให้ปั๊มทำงานตลอด 24 ชั่วโมง และลดความเร็ว 1-2 ชั่วโมงต่อวันจนกว่าน้ำจะสมดุล

2. เฝ้าระวังสระหากอาศัยอยู่ในพื้นที่หนาวติดลบ

หากคุณมีบ้านอยู่ในประเทศที่มีอากาศหนาวติดลบด้วย สระว่ายน้ำของคุณก็จะมีเรื่องที่ต้องระวังเพิ่มขึ้นมาอีกนิดหน่อย เพราะการแข็งตัวของน้ำที่ค้างอยู่ในท่อท่ามกลางอากาศที่หนาวจัด สามารถก่อให้เกิดความเสียหายได้ วิธีแก้ คือ ให้ใช้เครื่องอัดอากาศเป่าไล่น้ำออกจากปั๊มออกให้หมด เมื่อคุณปิดสระ รวมทั้งกำจัดน้ำออกจากเครื่องกรองด้วย ถอดปลั๊กปั๊มน้ำ ปั๊มสารเคมีและอื่น ๆ จากนั้นให้ทำความสะอาดสระว่ายน้ำด้วยการขัดผนัง ทำความสะอาดตะกร้าสกิมเมอร์ ปิดวาล์ว ลดระดับน้ำลงมาให้ต่ำกว่าเครื่องผลิตคลอรีน 45 เซนติเมตรโดยประมาณ และคลุมสระว่ายน้ำ เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกตกลงไป

3. หารอยรั่วให้เจอแล้วทำการแก้ไข

บางครั้งมันก็ยากที่จะแยกว่าน้ำในสระที่หายไปเกิดจากการระเหยหรือว่าสระรั่วกันแน่ คุณสามารถทำการทดสอบได้โดยเติมน้ำลงในถังพลาสติก 3 ใน 4 ของความจุ แล้วขีดเครื่องหมายที่ตำแหน่งระดับน้ำภายในถังไว้ จากนั้นนำถังลงไปใส่ในสระแล้วทำเครื่องหมายของระดับน้ำภายในสระไว้ที่ตัวถังด้านนอกแล้วปล่อยทิ้งไว้ 2-3 วัน หากน้ำในถังและน้ำในสระหายไปพอกัน ๆ แปลว่ามันเกิดจากการระเหย แต่หากระดับน้ำในสระหายไปมากกว่าระดับน้ำในถังแปลว่าสระของคุณมีรอยรั่ว ได้เวลาโทรตามช่างมาได้เลย

4. ฆ่าเชื้อน้ำในสระ

แอมโมเนียและไนโตรเจน เป็นสิ่งปนเปื้อนตามธรรมชาติที่สามารถเกิดขึ้นในสระว่ายน้ำได้ตลอดเวลา คุณสามารถฆ่าเชื้อในสระว่ายน้ำได้ ด้วยการใช้คลอรีน บางสระอาจจำเป็นต้องทำสัปดาห์ละครั้ง แต่บางสระอาจอยู่ได้นานมากกว่านั้น

5. รักษาค่า pH

ค่า pH ของน้ำในสระที่ 7.2-7.8 ถือว่าอยู่ในช่วงกำลังดีและปลอดภัยต่อการลงเล่นน้ำ คุณสามารถเช็คค่า pH ของสระว่ายน้ำได้ด้วยตัวเองโดยการใช้ชุดอุปกรณ์การวัดค่า จากการนำตัวอย่างน้ำในสระมา แล้วหยดน้ำยาทดสอบลงไป เพื่อเทียบสีหรือว่าจะใช้เป็นอุปกรณ์ที่ต้องจุ่มลงไปในสระโดยตรง แล้วค่อยนำออกมาเทียบกับชาร์ตสีข้างนอกก็ได้

6. ตรวจสอบระดับน้ำในสระ

โดยปกติแล้วน้ำในสระ สามารถหายไปได้จากหลายสาเหตุ ทั้งการระเหยตามธรรมชาติและการกระฉอกออกจากการลงเล่นน้ำ ทุกครั้งที่คุณทำความสะอาดสิ่งสกปรกจากสกิมเมอร์ ให้ลองสังเกตระดับน้ำว่าไม่ควรต่ำกว่าระดับของสกิมเมอร์ที่ติดตั้งไว้ ไม่เช่นนั้นปั๊มอาจเกิดความเสียหายได้ หากเห็นว่าน้ำเริ่มต่ำลงให้ใช้สายยางฉีดเติมน้ำลงไป

7. เครื่องทำน้ำอุ่นสระว่ายน้ำ



เครื่องทำน้ำอุ่นสระว่ายน้ำ เป็นอุปกรณ์ที่ต้องการการดูแลน้อยที่สุดจากเหล่าบรรดาอุปกรณ์อื่น ๆ ทั้งหมด เครื่องทำน้ำอุ่นแบบแก๊ส สามารถใช้งานได้ไปยาว ๆ ถึง 2 ปีโดยไม่ต้องมีการซ่อมบำรุง ส่วนเครื่องทำน้ำอุ่นแบบไฟฟ้ายิ่งใช้งานได้นานกว่านั้น แต่ถ้าหากเกิดปัญหาขัดข้องใดกับอุปกรณ์ชิ้นนี้ ควรเรียกช่างผู้เชี่ยวชาญเข้ามาแก้ไขโดยตรงมากกว่าพยายามที่จะซ่อมเอง

8. ทำความสะอาดตัวกรอง

จริงอยู่ที่เมื่อมีสิ่งสกปรกมาติดที่ตัวกรองเยอะ ๆ แล้วคุณควรทำความสะอาดมัน แต่จุดเล็ก ๆ ที่ควรระวัง คือ ไม่ควรทำความสะอาดตัวกรองบ่อยจนเกินไป เนื่องจากสิ่งตกค้างที่มีอยู่ในตัวกรองสามารถช่วยดักจับอนุภาคสกปรกอื่น ๆ ได้เช่นเดียวกัน จุดสังเกตง่าย ๆ ว่าเมื่อใดได้เวลาทำความสะอาดตัวกรองแล้วให้ดูที่การไหลเวียนระหว่างเกจวัดแรงดันกับ flow meter หากมีค่าต่างกัน 4.5-6.8 กิโลกรัมต่อตารางนิ้วแล้วก็ให้ทำความสะอาดได้เลย

9. ดูดและขัด

ควรดูดทำความสะอาดสระว่ายน้ำทุกสัปดาห์ เพื่อให้น้ำใสและลดระดับสารเคมีในน้ำ รวมทั้งขัดผนังสระ เพื่อลดการสะสมตัวของแคลเซียม การเลือกแปรงขัดก็ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ทำผนัง แปรงแน่น ๆ ใช้กับขอบสระคอนกรีต และแปรงขนนุ่มใช้กับไวนิล หรือไฟเบอร์กลาส ในส่วนของพื้นกระเบื้องให้ใช้แปรงขนอ่อนเพื่อป้องกันรอยขีดข่วน

10. ตักสิ่งสกปรกจากผิวน้ำ

ตักสิ่งสกปรกจากผิวน้ำทุก ๆ 2-3 วัน เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ง่ายและเร็วที่สุดในการรักษาสระว่ายน้ำให้สะอาดอยู่เสมอ เพราะหากปล่อยนานไป เศษซากต่าง ๆ ที่ลอยอยู่ อาจจมลงและยากต่อการจัดการ ใช้กระชอนด้ามยาวตักใบไม้ แมลง และสิ่งไม่พึงประสงค์อื่น ๆ ออกจากผิวน้ำ และอย่าลืมทำความสะอาดตะกร้ากรองขยะสัปดาห์ละครั้ง เพียงเท่านี้สระว่ายน้ำของคุณก็จะดูเหมือนใหม่อยู่เสมอ

สินค้าราคาพิเศษ: รอกโซ่  Kacha แข็งแรงทนทาน ปลอดภัย ด้วยระบบตัดการทำงานเมื่อระบบใช้งานเกินกำลัง พร้อมมอเตอร์ทรงพลัง พร้อมระบบกระจายความร้อน ราคาเริ่มต้นเพียง 1280 บาท

Previous post Next post
Up