ลองเขียนอะไรดู !!

Mar 15, 2010 00:13

เด็กหลายๆคนฉลาดในเรื่องอื่นๆ นอกเหนือจากการเรียน หรือที่เรียกว่าพหุปัญญา

ทฤษฎีพหุปัญญากล่าวถึงมนุษย์และความชาญฉลาดทั้ง ๘ ด้านของมนุษย์ ว่า

* มนุษย์มีความฉลาดอย่างน้อย ๘ ด้าน
   * มนุษย์มีโอกาสที่จะพัฒนาพหุปัญญาได้ครบทุกด้าน
   * ปัญญา หรือความฉลาดทั้ง ๘ ด้าน ล้วนส่งผลถึงกันในลักษณะของการสนธิพลัง
   * ความถนัดอันเนื่องจากผลสะสมของการเรียนรู้ และพันธุกรรม เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มนุษย์มีความถนัดในปัญญาด้านต่างๆ ที่แตกต่างกัน
   * การปรากฏของมนุษย์แต่ละคนเป็นผลสังเคราะห์ของโยงใย และผลที่กระทำต่อกันของปัญญาทุกๆ ด้านที่มีอยู่ในตัวบุคคลซึ่งสังเคราะห์ออกมาเป็น profile ที่มีลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล ซึ่งส่วนที่เป็นจุดเด่นของ profile ของแต่ละคนก็มักแสดงออกมาให้เห็น เป็นความโดดเด่นของปัญญาในด้านใดด้านหนึ่ง หรือชุดใดชุดหนึ่ง

พหุปัญญา 8 ประการ ได้แก่

1. ปัญญาด้านภาษา หมายถึง ความสามารถในการคิดเป็นภาษาพูดและการใช้ภาษาเพื่อแสดงออก และมีความชื่นชอบใน ความหมายที่สลับซับซ้อนของภาษา

กิจกรรมเพื่อพัฒนาปัญญาด้านภาษา เช่น การใช้สัญลักษณ์ การอ่านแผ่นพิมพ์คอทพิวเตอร์ การโต้วาที การประพันธ์ การเล่า เรื่องขำขัน การกล่าวสุนทรพจน์ การอ่าน การเล่าเรื่อง การฟัง การฟังเทป การเขียนเรียงความ การเขียนรายงาน การเล่มเกมอักษรไขว้ การอ่านนิทาน/นิยาย การอ่านหนังสือสารคดี การอ่านหนังสือพิมพ์ การอ่านวารสาร การใช้อินเตอร์เนต การวิจัย การอ่านหนังสือทั่วไป การอ่านอัตชีวประวัติ และการทำบรรณานุกรม เป็นต้น

2. ปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์   ปัญญาด้านนี้ช่วยให้สามารถคิดตัวเลข คิดปริมาณ พิจารณาข้อสันนิษฐานและสมมติฐานต่าง ๆ และสามารถทำโจทย์คณิตศาสตร์ที่สลับซับซ้อนได้

กิจกรรมเพื่อพัฒนาปัญญาด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ เช่น การทายปัญหา การทำเค้าโครงเรื่องย่อ การจัดลำดับเหตุการณ์ การสร้างภาพ/ลวดลายต่าง ๆ การหาเหตุและผล การหาข้อแตกต่าง การแก้สมการ การคิดคำนวณ การเล่นเกม และการคิดเลขเศษส่วน เป็นต้น

3. ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์   ช่วยปลูกฝังความสามารถในการคิดเป็นสามมิติ(กว้าง ไกล และลึก) สามารถสร้างภาพ เปลี่ยนภาพหรือ ปรับภาพได้ ทำให้สามารถพาตนเองและวัตถุต่าง ๆ ผ่านไปในระยะทางหรือที่ว่างได้ และสามารถสร้างหรือถอดรหัสหรือแปลความ ข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในรูปของงานขีดเขียน(งานกราฟฟิก)ได้

กิจกรรมเพื่อพัฒนาปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ เช่น การเขียนภาพ การวาดภาพ การเขียนการ์ตูน การแกะสลัก การต่อภาพ การเขียน แผนที่ การทำป้ายนิเทศเรื่องราว การดูวีดิทัศน์ การใช้สัญลักษณ์ การใช้ภาพโปสเตอร์ การดูและศึกษาภาพจิตรกรรมฝาผนัง การทำตุ๊กตาล้มลุก การสร้างรูปจำลอง การปะภาพกระดาษ การสเกตซ์ภาพ การทำโมบายล์ เป็นต้น

4. ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย   ช่วยให้การจับต้อง หรือจัดการกับวัตถ ุและทักษะต่าง ๆ ทางกายภาพที่ละเอียดอ่อนได้

กิจกรรมเพื่อพัฒนาปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น การแสดงบทบาทสมมติ การแสดงละคร การใช้ภาษาท่าทาง การเต้นรำ/การฟ้อนรำ การแสดงละครใบ้ การทัศนศึกษา การทำงานในห้องทดลอง การสัมภาษณ์ การเล่นกีฬา การเล่นเกม การแสดงออกบนใบหน้า เป็นต้น

5. ปัญญาด้านดนตรี   ช่วยให้มีความรู้สึกไวเกี่ยวกับเสียงสูงต่ำ ทำนองเพลง จังหวะดนตรี และน้ำเสียง

กิจกรรมเพื่อพัฒนาปัญญาด้านดนตรี เช่น การแสดงบนเวที การร้องเพลง การเล่นดนตรี การใช้เครื่องดนตรี การรู้จังหวะดนตรี การแต่งเพลง การร้องเพลงประสานเสียง การเล่นดนตรีเครื่องสาย การเล่นดนตรีสากลสอง/สาม/สี่ชิ้น การทำจังหวะ การเต้นแร็พ การเต้นตามจังหวะเพลง การอ่านเพลงสวด การสวดมนต์ การอ่านทำนองเสนาะ เป็นต้น

6. ปัญญาด้านรู้ผู้อื่น   หมายถึง ความสามารถในการเข้าใจผู้อื่น และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ดี

กิจกรรมเพื่อพัฒนาปัญญาด้านรู้ผู้อื่น เช่น การทำโครงงานเป็นกลุ่ม การทำงานกลุ่ม การทำแผนภูมิ การสังเกต การปฏิสังสรรค์ การสนทนาสองคน การสนทนาหลายคน การโต้วาที การสื่อสาร การปะภาพกระดาษ การวาดจิตรกรรมฝาผนัง การเล่นกีฬา การเล่นเกม เป็นต้น

7. ปัญญาด้านรู้ตนเอง   หมายถึง ความสามารถในการรู้จักตนเอง หรือความสามารถในการสร้างและรับรู้ตนเองอย่างถูกต้อง และใช้ ความรู้นี้ในการวางแผนและชี้นำชีวิตตนเอง

กิจกรรมเพื่อพัฒนาปัญญาด้านรู้ตนเอง เช่น การอ่านวารสาร การนั่งสมาธิ/วิปัสสนา การประเมินตนเอง การบันทึก การคิดทบทวน การคัดลอกข้อความ/คำคม/คำกล่าวเกี่ยวกับตนเอง การเขียนคำประพันธ์ การแปลความ การคิดฉับพลัน การสร้างกรอบ ความคิด การวางเป้าหมาย เป็นต้น

8. ปัญญาด้านรอบรู้ธรรมชาติ
                   หมายถึง ความสามารถในการสังเกตรูปแบบการเป็นอยู่ของธรรมชาติ สามารถกำหนดและจัดหมวดหมู่ สิ่งต่าง ๆ และเข้าใจระบบที่เป็นธรรมชาติ และระบบที่มนุษย์ทำขึ้น

CREDIT : www.pantip.com/cafe/chalermthai
Previous post Next post
Up